วันพฤหัสบดีที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2563

นิทานพื้นบ้าน(ภาคเหนือ)

 นิทานล้านนา เรื่องย่าผันคอเหนียง เป็นนิทานเล่าสู่กันมาที่เป็นนิทานพื้นบ้านภาคเหนือ และยังเป็นอีกนิทานสอนใจได้แง่คิดในเรื่องการทำความดี สามารถอ่านหรือฟังได้ทุกวัย

กาลก่อน ณ หมู่บ้านตั้งอยู่ในชนบท ไกลออกไปจากเมืองหลวง ชาวบ้านมีอาชีพทำไร่ ทำนาหาของป่ามาขาย หมู่บ้านแห่งนี้มีหญิงสาวรูปร่างอาภัพผู้หนึ่ง นางไม่ม้ชายหนุ่มผู้ใดไปเที่ยวหาเลยเนื่องจากนางคอพอกโตใหญ่น่าเกลียด ชาวบ้านเรียกนางว่า ‘’ อีตาคอเหนียง ”

ทุกๆคืนแม้ว่านางจะนั่งปั่นฝ้ายอยู่กลางลานบ้านรอหนุ่ม ๆ มาเที่ยวหา ก็ปรากฏว่าไม่มีใครมาหานางเลย แม้ว่าจะได้ยินเสียงร้องเพลงและเล่นดนตรีของพวกหนุ่มๆ ที่ผ่านมา นางคิดว่าเขาคงจะแวะมาเที่ยวหาตน แต่ปรากฏว่าหนุ่มเหล่านั้นกลับเลยไปบ้านอื่นเสียทุก ๆ คราว

นิทานพื้นบ้านภาคเหนือ ย่าผันคอเหนียง

เมื่อเป็นเช่นนี้ นางสาวตารู้สึกน้อยใจ อยากจะตายเสียให้พ้นความชอกช้ำใจ วันหนึ่งขณะที่นางเห็นปลอดคน จึงจัดการตระเตรียมเครื่องใช้ตั้งใจว่าจะเข้าไปตายในป่าเสียให้รู้แล้วรู้ รอดไป บางทีความตายอาจช่วยให้ตนพ้นทุกข์ไปได้… นางมุ่งหน้าออกเดินทางเข้าป่าขึ้นเขาไป โดยตั้งใจเด็ดขาดว่าเป็นตายร้ายดีจะไม่ยอมกลับบ้าน วันที่ 14 นางบรรลุถึงกลางดงลึก ซึ่งนางเลือกว่าที่นี่คงจะไม่มีใครตามมารบกวน นางคงจะตายอย่างเป็นสุข

… เนื่องจากความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า นางล้มฟุบเป็นลมอยู่กลางดงนั้นเอง ขณะที่นางนอนสลบไสลอยู่ที่นั้น คืนวันนั้นเป็นคืนที่เหล่าผีป่าทั้งหลายตระเตรียมยืมข้าวของเครื่องใช้ต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในการจัดงานเลี้ยงดูกันตามประเพณีของตน
ผีตนหนึ่งเดินมาเห็นคอพอกของนางสาวตา มันคิดในใจว่า เราอุตส่าห์ยืมหม้อแกงที่ไหน ๆ ก็หาไม่ได้ เพิ่งมาพบที่นี่ ผีจึงตรงคว้าเอาคอพอกของนางไป พร้อมกับพูดว่า ‘’ แม่นาง ข้าขอยืมหม้อแกงหน่อยนะ เสร็จธุระแล้วจะเอามาส่งให้ ”… นางสาวตารู้สึกตัวตื่นขึ้น เอามือคลำต้นคอของตนรู้สึกว่าคอพอกของตนที่เป็นอยู่นั้น ขณะนี้หายไปสิ้น นางรู้สึกดีใจยิ่งนัก รีบวิ่งบ้างเดินบ้างจนถึงบ้านโดยไม่เหน็ดเหนื่อย พอถึงบ้านก็เล่าเรื่องราวทั้งหลายให้เพื่อน ๆ ฟัง

เพื่อน ๆ ที่ทราบเรื่องคอพอกของสาวตาหาย ต่างพากันมาซักถามจนรู้สึกเรื่องราว ณ ที่นั้น มีหญิงสาววัยกลางคนผู้หนึ่งชื่อ ‘’ผัน‘’ แกก็คอพอกเหมือนกัน แต่ไม่ได้โตใหญ่เท่าของสาวตา นางเองต้องการอยากให้คอพอกของตนหาย นางเฝ้าซักไซ้ไล่เลียงจนทราบความจริง…นางผันจึงออกเดินเข้าป่าไป เป็นเวลาร่วมๆ สิบวัน จนถึงป่าที่นางสาวตาไปนอนสลบไสล ด้วยความเหน็ดเหนื่อยและอ่อนเพลียนางจึงแวะพักนอนกลางวันกลางทางนั่นเอง

… เมื่อผีมาดูนางสาวตาไม่พบ มันเห็นหญิงวัยกลางคนนอนแทนที่ จึงส่งหม้อนั้นคืน พอรุ่งเช้านางผันตื่นขึ้น เมื่อเอามือลูบคลำคอของตน แทนที่คอพอกของตนจะหาย กลับโตกว่าเดิมขึ้นอีกมากมาย นางร้องไห้เสียใจที่ตนเสียแรงอุตส่าห์ดั้นด้นเข้าป่ามาทั้งทีอยากจะให้คอพอกหาย… กลับกลายโตยิ่งกว่าเดิมเสียอีก เมื่อเป็นเช่นนี้นางผันไม่รู้จะทำอย่างไร… เมื่อหมดหนทางแก้ ประกอบกับนางคิดไว้ว่าวัยของตนก็ล่วงเข้ากลางคนแล้ว แม้ว่าคอจะพอกก็ไม่เห็นเป็นอะไร สู้ตนพยายามทำความดีแล้วความดีนั้นคงจะสนองให้นางเป็นสุขใจได้บ้างกระมัง…

…นับแต่นั้นมา นางพยายามประกอบกรรมดี ช่วยเหลือกิจกรรมงานของชาวบ้านโดยไม่เห็นเหน็ดเหนื่อย ชาวบ้านทุกคนถึงกับออกปากสรรเสริญคุณงามความดีที่นางได้ปฏิบัติไป ถึงแม้ว่านางจะตายไปหลายปีแล้วก็ตาม ชาวบ้านยังกล่าวขวัญถึงนางเสมอว่า ‘’ ใจบุญเหมือนย่าผันคอเหนียง ”

นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
1. ดั่งคติที่ว่า ‘’แข่งเรือแข่งพายแข่งได้ แข่งบุญแข่งวาสนาแข่งไม่ได้ ‘’
2. โชควาสนาของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน…แต่ทุกคนสามารถสร้างโชควาสนาให้ดีให้มีมากขึ้นได้ด้วยตัวเราเอง…หากมีความตั้งใจจริง

ปริศนาคำทาย

เพลงพื้นบ้าน

วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2563

ตำนานพระธาตุดอยตุง

     

พระธาตุดอยตุง🌄


 วัดพระมหาชินธาตุเจ้า (ดอยตุง) หรือเรียกโดยทั่วไปว่า วัดพระธาตุดอยตุง ตั้งอยู่บริเวณส่วนที่เรียกว่าหน้าอกของดอยนางนอน ตำบลห้วยไคร้ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย ซึ่งเป็นถิ่นที่อยู่ของชาวเขา  ซึ่งดอยตุงมีระยะทางห่างจากอำเภอเมืองเชียงรายประมาณ 46 กม. เป็นที่บรรจุพระรากขวัญเบื้องซ้าย (กระดูกไหปลาร้า) ของพระพุทธเจ้า นำมาจากมัธยมประเทศ นับเป็นครั้งแรกที่พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ได้มาประดิษฐานที่ล้านนาไทย เมื่อก่อสร้างพระสถูปบรรจุพระบรมสารีริกธาตุนี้ ได้ทำธงตะขาบ (ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า ตุง) ใหญ่ยาวถึงพันวา ปักไว้บนยอดดอย ถ้าหากปลายธงปลิวไปไกลถึงเมืองไหน ก็จะกำหนดเป็นฐานพระสถูป เหตุนี้ดอยซึ่งเป็นที่ประดิษฐานปฐมเจดีย์แห่งล้านนาไทย จึงปรากฏนามว่า ดอยตุง พระธาตุดอยตุงเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ เมื่อถึงเทศกาลนมัสการพระธาตุดอยตุงในวันเพ็ญเดือน 3 จะมีพุทธศาสนิกชนทั้งชาวไทยและเพื่อนบ้านจากประเทศใกล้เคียง เช่น ชาวเชียงตุงในรัฐฉาน ประเทศสหภาพพม่า ชาวหลวงพระบาง เวียงจันทน์ เดินทางเข้ามานมัสการทุกปี พระธาตุดอยตุงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีกุน ที่นิยมมาสักการะเพื่อความเป็นสิริมงคล  นักท่องเที่ยวสามารถมองเห็นพระธาตุดอยตุงได้ในระยะไกลเนื่องจากพระธาตุดอยตุงตั้งอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเลประมาณสองพันเมตร

            ตามตำนานเล่าว่า พระธาตุดอยตุงสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าอชุตราช กษัตริย์ผู้ครองเมืองโยนกนาคพันธุ์(ปัจจุบันคืออำเภอแม่จัน) พระมหากัสสปะเถระได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุพระรากขวัญเบื้องซ้าย  แล้วมอบให้แก่ พระเจ้าอชุตราช ได้สร้างเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุนั้นไว้บนดอยแห่งนี้ ดังที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้ แล้วจึงได้ให้ทำตุง  มีความยาว 1,000 วาปักบนยอดเขาหากทุงปลิวไปถึงที่ใดก็กำหนดให้เป็นฐานของพระเจดีย์ ทั้งนี้พระองค์ได้พระราชทานทองคำให้พวกลาวจกเป็นค่าที่ดิน และให้พวกมิลักขุ 500 ครอบครัวดูแลรักษาพระธาตุ ต่อมาในสมัยพญามังรายแห่งราชวงค์มังราย  พระมหาวชิรโพธิเถระได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาถวาย 50 องค์ พญามังรายจึงให้สร้างพระเจดีย์อีกองค์ใกล้กับเจดีย์องค์เดิม นับจากนั้นเป็นต้นมาพระธาตุดอยตุงจึงได้มีเจดีย์สององค์มาจนถึงทุกวันนี้

วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

กัณฑ์ที่6

ความย่อ
          กล่าวถึงชูชกเดินทางไปเขาวงกต พบพรานเจตบุตร ชุชกใช้กลอุบายหลอกว่าเป็นราชทูตของพระเจ้ากรุงสัญชัย    พร้อมชูกลักพริก กลักขิงเสบียงกรังที่นางอมิตตดาจัดหาให้ ว่าเป็นพระราช-สาส์นของพระเจ้ากรุงสัญชัย    จนพรานเจตบุตรหลงเชื่อ จึงชี้บอกทางให้ไปจนถึงอาศรมบทของพระอัจจุตฤาษี
เนื้อเรื่อง
          พรานเจตบุตรผู้มีรูปร่างกำยำไว้หนวดแดงหน้าตาถมึงทึง ก็ถือหน้าไม้อาบยาพิษมาหาชูชกหมายจะฆ่าให้ตาย ตามคำสั่งกษัตริย์เจตรัฐ เฒ่าชูชกเจ้าเล่ห์คิดอุบายเอาตัวรอดจึงตัวสั่นงันงกรีบร้องว่า ตนเองเป็นราชทูตของพระราชา มาทูลเชิญเสด็จพระเวสสันดรกลับวัง เพราะพระราชาทรงอภัยโทษแล้ว พรานเจตบุตรได้ยินก็ดีใจจึงเชื่อคำเท็จนั้น จึงจัดเสบียงเพิ่มให้ชูชกและชี้ทางให้อีกด้วย
 อานิสงส์
  ผู้ใดบูชากัณฑ์จุลพน แม้จะบังเกิดในปรภพใด ๆ จะเป็นผู้สมบูรณ์ด้วยสมบัติบริวาร จะมีอุทยานอันดารดาษด้วยดอกไม้หอมตลบไป แล้วจะมีสระโบกขรณีอันเต็มไปด้วยปทุมชาติ ครั้นตายไปแล้วก็ได้เสวยทิพยสมบัติในโลกหน้าสืบไปฯ
ข้อคิดประจำกัณฑ์
  ๑. มีอำนาจหากขาดปัญญาย่อมถูกหลอกได้ง่าย
  ๒. คนโง่ย่อมเป็นเหยื่อของคนฉลาด
  ๓. ไว้ใจทาง วางใจคน จะจนใจตัว
ภาพประกอบ
ภาพจิตรกรรมฝาผนัง ในศาลาพุทธานุภาพ วัดคีรีวงศ์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

วันจันทร์ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

เรื่องสั้น

เรื่องสั้น
เรื่องสั้น คือ บันเทิงเรียงความร้อยแก้วรูปแบบหนึ่ง มีลักษณะคล้ายนวนิยาย แต่สั้นกว่า โดยมีเหตุการณ์ในเรื่องและตัวละครน้อย​ ทั้งนี้ทั้งนั้น​ เรื่องสั้นอาจจะมีความยาวของตัวเรื่องและ​ความซับซ้อนของตัวละครก็ได้​ แต่ก็ต้องคงอยู่ในเอกลักษณ์​เฉพาะตัว​ของเรื่อง​สั้น มักจบแบบพลิกความคาดหมายหรือจบแบบให้คิด เป็นต้น การดำเนินเรื่องจะมุ่งเข้าสู่ประเด็นหลักอย่างรวดเร็ว ต้นกำเนิดของเรื่องสั้นมาจากประเพณีการเล่านิทาน ซึ่งมักจะปูโครงเรื่องอย่างคร่าวๆ แล้วเข้าสู่จุดสำคัญของเรื่องอย่างรวดเร็ว